ผู้ประกอบการเช็คให้ชัวร์! ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เช่านั้นมีมาตรฐานหรือไม่?

ผู้ประกอบการเช็คให้ชัวร์! ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เช่านั้นมีมาตรฐานหรือไม่?

25 ก.พ. 2565   ผู้เข้าชม 3,402

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ภายในกิจการ สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญเลยก็คือ การตรวจสอบว่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่คุณเลือกใช้อยู่นั้น มีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่ ตัวถังมีจุดที่ชำรุดเสียหายหรือไม่ บริษัทผู้ให้เช่าถังน้ำมัน มีประสบการณ์หรือความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เพราะสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่คุณ ในฐานะผู้เช่าควรต้องตรวจสอบให้ดีก่อนการเช่าและติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

บทความนี้ แพนด้า สตาร์ ออยล์ จะพาคุณมารู้จัก ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีมาตรฐาน ว่าควรมีลักษณะอย่างไร ให้คุณสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ว่า ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่คุณกำลังเช่าอยู่นั้นได้มาตราฐานหรือไม่ และเรายังมีคำแนะนำดี ๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ถังน้ำมันนำมาฝากกัน ทั้ง เรื่องการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย และตำแหน่งติดตั้งป้ายเตือนบริเวณถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

ทำไมหลายอุตสาหกรรมถึงเลือกใช้ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง?

ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่าย คือ ถังที่มีไว้สำหรับเก็บหรือสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง โดยโครงสร้างถังสำรองน้ำมันส่วนใหญ่ จะเป็นรูปทรงกระบอกที่ทำด้วยเหล็กและตั้งอยู่บนพื้น ด้วยฐานของถังที่ทำมาให้สามารถตั้งได้ทั้งบนพื้นดินทั่วไป ฐานคอนกรีต หรือฐานเหล็ก ซึ่งข้อดีของการติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงรูปแบบนี้ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบบริเวณพื้นถังด้านล่างได้ง่ายและสะดวกกว่าการติดตั้งบนพื้นดินโดยตรง และหากคุณเลือกใช้ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มาพร้อมหัวจ่าย ที่มาพร้อมรถด้วยแล้ว ก็จะยิ่งสะดวกต่อการใช้การงานมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเคลื่อนที่ไปยังบริเวณต่าง ๆ ได้โดยง่าย

 

ลักษณะของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาตรฐาน

ถังน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ผนังถังน้ำมัน

ความหนาของเหล็กที่ใช้สำหรับทำผนังถังน้ำมันเก็บเชื้อเพลิงนั้น ต้องมีการคำนวณค่าความหนาของตัวถังน้ำมันและออกแบบ เพื่อให้ถังน้ำมันสามารถรับน้ำหนักในการบรรทุก รวมถึงมีความต้านทางต่อแรงดันภายในถังได้ และเมื่อบวกกับค่าการกัดกร่อน ต้องมีความหนาของเหล็กไม่น้อยกว่าความหนาต่ำสุด ตามที่มีการกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

 

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร) ความหนาต่ำสุด (มิลลิเมตร)
น้อยกว่า 15 เมตร  5 มิลลิเมตร
15 เมตร แต่ไม่ถึง 36 เมตร 6 มิลลิเมตร
36 เมตร ถึง 60 เมตร  8 มิลลิเมตร
มากกว่า 60 เมตร 10 มิลลิเมตร

 

  • พื้นถังน้ำมัน

แผ่นเหล็กจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร โดยถังน้ำมันที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 12.50 เมตรขึ้นไป จะต้องมีแผ่นเหล็กวงแหวน ที่มีความหนาตรงกับค่าที่กำหนด เพื่อรองใต้แผ่นเหล็กของผนังถังน้ำมัน

  • การเชื่อมต่อท่อเข้ากับผนังถังน้ำมันเชื้อเพลิง

สำหรับท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้ว ผนังของถังน้ำมันตรงจุดที่เชื่อมต่อท่อ จะต้องมีการเสริมความแข็งแรง ตรงหน้าตัดของเหล็กเสริมแรง ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถังน้ำมัน และต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของพื้นที่ช่องท่อ 

  • การวางรากฐาน

ต้องสำรวจพื้นดินบริเวณโดยรอบที่ต้องการติดตั้งถังน้ำมัน ให้มีความหนาแน่นมากพอ ที่เมื่อติดตั้งตัวถังน้ำมันและบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว พื้นดินจะไม่เกิดการยุบหรือทรุดตัว สำหรับการเชื่อมต่อรากฐานเหล็กกับตัวถังน้ำมัน ต้องเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย


การเตรียมช่องทางเข้า - ออก

ถังน้ำมันเชื้อเพลิง

ช่องทางเข้า - ออก จะมีอยู่ 2 รูปแบบ โดยแบ่งออกตามขนาดของถังน้ำมัน ดังนี้

 

  • รูปแบบที่ 1 : ถังน้ำมันที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน กว่า 25 เมตร 

ต้องมีช่องทางเข้า - ออก อย่างน้อยจำนวนสามช่อง ตรงบริเวณหลังคาถังน้ำมัน 1 ช่อง

บริเวณผนังถังน้ำมัน 2 ช่อง โดยตรงผนังถังน้ำมันช่องทางเข้า - ออก ทั้ง 2 ช่องต้องอยู่ตรงกันข้ามกัน

 

  • รูปแบบที่ 2 : ถังน้ำมันที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 25 เมตร 

ต้องมีช่องทางเข้า - ออก อย่างน้อย 2 ช่องคือ ตรงบริเวณหลังคาถังน้ำมัน 1 ช่อง และ ตรงบริเวณผนังถังน้ำมัน 1 ช่อง 


เมื่อการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรมีการทดสอบการรรั่วซึมของตัวถังน้ำมันและข้อต่อต่าง ๆ โดยใช้แรงดันน้ำแรงอัดอากาศตามระยะเวลาที่มีการกำหนดไว้ หากพบจุดที่มีการรั่วซึม ควรทำการแก้ไขและทดสอบใหม่อีกครั้งจนกระทั่งไม่พบการรั่วซึมอีก

 

การติดตั้งอุปกรณ์ระงับอัคคีภัยและอุปกรณ์ป้องกัน

 

การติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อย ที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส บริเวณที่ตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องมีการจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

 

เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิง

ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่าย

ควรมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม มีความสามารถในการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 3A 40B ( คำอธิบายด้านล่าง ) ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย และมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่อง และมีการตรวจสอบสภาพเครื่องดับเพลิงให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก ๆ 6 เดือน โดยมีหลักฐานการตรวจสอบติดหรือแขวนไว้ที่เครื่องดับเพลิง

 

คำอธิบาย ( ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในการดับไฟ หรือ Fire Rating ) 

ตัวอักษร A คือ ประสิทธิภาพในการดับไฟที่เชื้อเพลิงเป็นของแข็ง (Class A) เช่น ไม้ กระดาษ ขนสัตว์ พลาสติก เป็นต้น

ตัวอักษร B คือ ประสิทธิภาพในการดับไฟที่เชื้อเพลิงเป็นของเหลว (Class B) เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ ก๊าซ เป็นต้น

ตัวเลข คือ ขนาดเชื้อเพลิงมาตรฐานที่ทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนด สำหรับวัดประสิทธิภาพการดับไฟ ระดับความสามารถของเชื้อเพลิง สำหรับ Class A มีตั้งแต่ 1A - 40A, สำหรับ Class B มีตั้งแต่ 1B - 80B

 

ทราย

ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

ควรมีทรายในปริมาณไม่น้อยกว่า 20 ลิตร ในบริเวณที่ติดตังถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และต้องเป็นจุดที่สามารถนำทรายมาใช้ได้สะดวกตลอดเวลา

 

ป้ายเตือน

หัวจ่ายน้ำมัน

เมื่อมีการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องมีการติดตั้งป้ายเตือนให้อยู่ห่างจากจุดที่มีการติดตั้งในระยะไม่เกิน 2 เมตร และข้อความที่ระบุในป้ายต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 2.50 เซนติเมตร ซึ่งข้อความที่ต้องมีระบุในป้ายเตือน คือ อันตราย, ห้ามสูบบุหรี่, ห้ามก่อประกายไฟ 

 

เห็นรึยังว่า นอกจากการตรวจสอบ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่ายน้ำมัน ให้ได้มาตรฐานแล้ว การติดตั้งป้ายแจ้งเตือนหรือการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสำคัญและมีจุดประสงค์ไว้เพื่อความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้งาน และยังช่วยป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินอีกด้วย

 

ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่าย

แพนด้า สตาร์ ออยล์ ยินดีให้บริการเช่าถังน้ำมันหรือแทงค์น้ำมันเชื้อเพลิงแบบลอยได้มาตรฐาน โดยมีให้เลือกตั้งแต่ ขนาดบรรจุ 1,000 ลิตร ไปจนถึงขนาดบรรจุ 10,000 ลิตร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ ทั้งในงานอุตสาหกรรม งานรับเหมาก่อสร้าง หรือโรงพยาบาล ที่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เราให้บริการคลอบคลุมทั่ว 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์


เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

ควันขาว-ควันดำจากรถ! สัญญาณเตือนว่ารถกำลังมีปัญหา
07 มี.ค. 2565

ควันขาว-ควันดำจากรถ! สัญญาณเตือนว่ารถกำลังมีปัญหา

สาระน่ารู้
ใช้งานง่าย ตรวจสอบได้! 4 เหตุผลที่ควรใช้บัตรเติมน้ำมัน (Fleet Card)
25 พ.ย. 2564

ใช้งานง่าย ตรวจสอบได้! 4 เหตุผลที่ควรใช้บัตรเติมน้ำมัน (Fleet Card)

สาระน่ารู้