มาเลือก "น้ำมันเครื่อง" ที่ใช่ให้กับรถคู่ใจของคุณกัน

มาเลือก "น้ำมันเครื่อง" ที่ใช่ให้กับรถคู่ใจของคุณกัน

05 ม.ค. 2565   ผู้เข้าชม 6,972

น้ำมันเครื่อง ส่วนสำคัญที่เป็นหัวใจหลักของเครื่องยนต์ เปรียบเสมือนผู้ช่วยและผู้ปกป้องเครื่องยนต์ในเวลาเดียวกัน คือเป็นสารหล่อลื่นเพื่อลดแรงเสียดทานขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน โดยทำหน้าที่คล้ายฟิล์มเคลือบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เพื่อลดการสึกหรอและยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ อีกทั้งยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ ช่วยระบายความร้อนให้กับชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ป้องกันการเกิดสนิม ชะล้างสิ่งสกปรกอย่าง คราบเขม่า ผงโลหะ เพื่อลดการอุดตันของชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์

น้ำมันเครื่อง

หากไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นเวลานาน จะทำให้การหล่อลื่นของเครื่องยนต์ภายในทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกครั้งเมื่อใช้งานถึงระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งน้ำมันเครื่องแต่ละประเภท จะมีช่วงเวลาในการเปลี่ยนถ่ายที่แตกต่างกัน

คำถามต่อมาคือ แล้วจะเลือกน้ำมันเครื่องอย่างไรให้เหมาะกับรถยนต์ และการใช้งาน ในบทความนี้ แพนด้า สตาร์ออยล์ จะพาไปเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถยนต์ของคุณ จะมีแบบไหนบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ

ประเภทของน้ำมันเครื่องรถยนต์

น้ำมันเครื่องรถยนต์

น้ำมันเครื่องรถยนต์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท มีความแตกต่างกันในส่วนของโครงสร้างน้ำมัน กรรมวิธีในการผลิต สารเติมแต่ง ระยะการใช้งานน้ำมันเครื่อง และราคาที่แตกต่างกัน

 

1. น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์แท้ (Full synthetic oil)น้ำมันหล่อลื่น

น้ำมันเครื่องที่มีราคาแพงที่สุด เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุดอยู่ที่ 15,000-20,000 กิโลเมตร พราะมีอัตราการระเหยที่ต่ำ เป็นน้ำมันเครื่องที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี 100% จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูง เหมาะกับการใช้งานในระยะยาว และผู้ที่ต้องการดูแลรถเป็นพิเศษหรือรถที่มีราคาสูง

 

2. น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic oil)น้ำมันหล่อลื่น

ราคาอยู่ในระดับกลาง มีอายุการใช้งาน อยู่ที่ 7,000-10,000 กิโลเมตร น้อยกว่าแบบสังเคราะห์แท้ เป็นน้ำมันเครื่องที่มาจากการผสมน้ำมันพื้นฐาน (Base oil) แบบสังเคราะห์แท้ กับน้ำมันดิบ ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากความคุ้มค่าในเรื่องราคาและประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร

 

3. น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา (Conventional Oil)น้ำมันหล่อลื่น

มีราคาถูกที่สุด และมีอายุการใช้งานน้อยที่สุดจาก 3 ประเภท อยู่ที่ 5,000 กิโลเมตรเป็นน้ำมันเครื่อง ที่กลั่นมาจากน้ำมันดิบ และไม่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ใด ๆ  ได้มาจากธรรมชาติ 100%

 

การเลือกใช้น้ำมันเครื่อง

น้ำมันหล่อลื่น

น้ำมันเครื่องรถยนต์ที่วางขายตามท้องตลาด จะแบ่งตามเครื่องยนต์ได้ 2 ประเภทคือ น้ำมันเครื่องดีเซล และ เบนซิน ซึ่งควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้ตรงกับประเภทเครื่องยนต์ของรถคุณ หรือหากไม่มั่นใจ สามารถศึกษาได้จากคู่มือรถยนต์ว่าเครื่องยนต์ของคุณควรเติมน้ำมันเครื่องรถยนต์ประเภทใด ซึ่งทั้ง 2 ประเภท ล้วนมีคุณสมบัติ ระยะเวลาการใช้งาน และราคาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์แท้ กึ่งสังเคราะห์ หรือแบบธรรมดา 

 

ความหนืด และการหล่อลื่นของน้ำมันเครื่อง

น้ำมันหล่อลื่น

ปัจจัยสำคัญในการเลือกน้ำมันเครื่อง ควรจะเลือกค่าความหนืดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ เพื่อให้น้ำมันหล่อลื่นภายในเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ซึ่งสามารถดูค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องได้จาก SAE ตามด้วยตัวเลข ซึ่งจะลงท้ายด้วย 5 หรือ 0 เช่น 15, 50 ซึ่งยิ่งตัวเลขที่มีค่ามาก ก็เท่ากับมีค่าความหนืดสูง ตัวเลขที่มีค่าน้อย น้ำมันเครื่องจะมีความใสมากกว่า ซึ่งการเลือกใช้ควรพิจารณาจากเครื่องยนต์ และอายุการใช้งาน

  • น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์แท้ มีความหนืดน้อย เช่น 0W30 หรือ 5W40 จะเหมาะกับเครื่องยนต์ใหม่ สมรรถนะดีเยี่ยม
  • น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ จะมีความหนืดเพิ่มขึ้นมา เช่น 10W40 หรือ 15W40 เหมาะกับรถยนต์ทั่วไป
  • น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา จะมีความหนืดสูงมาก เช่น SAE50 เหมาะกับรถยนต์รุ่นเก่า ใช้มานานหลายปี

 

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืม!! เลือกใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกประเภท และเหมาะสมกับการใช้งานรถยนต์นะคะ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถยนต์ตามระยะการเปลี่ยนถ่าย ตรวจเช็กน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ และป้องกันความเสียหาย ที่มีสาเหตุมาจากการใช้งานน้ำมันเครื่องเกินระยะที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์โดยตรง ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ


เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประกอบการเช็คให้ชัวร์! ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เช่านั้นมีมาตรฐานหรือไม่?
27 ก.พ. 2565

ผู้ประกอบการเช็คให้ชัวร์! ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เช่านั้นมีมาตรฐานหรือไม่?

สาระน่ารู้
แนะนำ! น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อไหนดี ที่คุณไม่ควรพลาด
26 ก.พ. 2565

แนะนำ! น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อไหนดี ที่คุณไม่ควรพลาด

สาระน่ารู้