ใครที่กำลังวางแผนจะออกรถคันใหม่ และ กำลังสนใจรถยนต์ไฟฟ้าต้องอ่าน!! กระแสรักษ์โลกกำลังมาแรง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าEV ได้รับความสนใจ และตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดพลังงาน และช่วยลดมลพิษ ซึ่งถือว่าตอบโจทย์อย่างมากในปัจจุบัน
แต่มีหนึ่งสิ่งที่หลายคนยังไม่รู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า EV คือ “ภาษี และกฎหมายรถยนต์ไฟฟ้า” ในบทความนี้ แพนด้า สตาร์ออยล์ จะพาทุกคนไปดูว่า ภาษีของรถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไปอย่างไร และต้องจ่ายภาษีรถยนต์ไฟฟ้าในอัตราเท่าไหร่ พร้อมแล้วไปดูกันเลย!
ปัจจุบัน รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากำลังได้รับความสนใจ อีกทั้งภาครัฐยังผลักดันและเตรียมมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าEV 3 ประเภท เพื่อส่งเสริมผู้ผลิตรถยนต์ในไทย ดังนี้
สิทธิประโยชน์
เงื่อนไขการรับสิทธิ
สิทธิประโยชน์
เงื่อนไขการรับสิทธิ
สิทธิประโยชน์
นอกจากนี้รัฐและเอกชนยังผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยการเพิ่มแท่นชาร์จให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ และวางมาตรการส่งเสริมการลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้าในอีก 2 ส่วน ได้แก่ การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่จูงใจต่อการลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการติดตั้งจุดชาร์จไฟฟ้า
แม้ยอดขายรถยนต์จะลดลง ด้วยสถานการณ์โรคระบาดและเศรษฐกิจ แต่กลับสวนทางกับรถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ราคาจะยังสูงกว่ารถยนต์ทั่วไปที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง แต่เมื่อนำเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบกัน รถยนต์ไฟฟ้าถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก ทั้งด้านความคุ้มค่าในการใช้งาน การประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ รักษ์โลก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อความคุ้มค่าในระยะยาว
การเก็บภาษีรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นแตกต่างจากภาษีรถยนต์ทั่วไป โดยอัตราภาษีได้ถูกยึดตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ.2522 ว่า รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า ต้องเสียภาษีตามน้ำหนักของรถ ในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน โดยเรียกเก็บดังนี้
น้ำหนักรถ | ภาษีปีละ |
500 กิโลกรัม | 150 บาท |
501-750 กิโลกรัม | 300 บาท |
751-1,000 กิโลกรัม | 450 บาท |
1,001-1,250 กิโลกรัม | 800 บาท |
1,251-1,500 กิโลกรัม | 1,000 บาท |
1,501-1,750 กิโลกรัม | 1,300 บาท |
1,751-2,000 กิโลกรัม | 1,600 บาท |
2,001-2,500 กิโลกรัม | 1,900 บาท |
2,501-3,000 กิโลกรัม | 2,200 บาท |
3,001-3,500 กิโลกรัม | 2,400 บาท |
3,501-4,000 กิโลกรัม | 2,600 บาท |
4,001-4,500 กิโลกรัม | 2,800 บาท |
4,501-5,000 กิโลกรัม | 3,000 บาท |
5,001-6,000 กิโลกรัม | 3,200 บาท |
6,001-7,000 กิโลกรัม | 3,400 บาท |
7,001 กิโลกรัม ขึ้นไป | 3,600 บาท |
หากทำความเข้าใจง่าย ๆ คือ อัตราการจ่ายภาษีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฟฟ้าEV นั้น ใช้อัตราภาษีเดียวกันกับรถกระบะที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง คือคิดอัตราภาษีตามน้ำหนักรถ ซึ่งมีอัตราค่าภาษีที่ถูกกว่ารถยนต์ที่เก็บอัตราภาษีตามขนาดความจุกระบอกสูบของรถยนต์ อย่างรถเก๋งหรือรถกระบะ 4 ประตู
รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังตัดสินใจจะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าคงตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะนอกจากภาษีรถยนต์ที่จ่ายถูกลง ยังช่วยลดโลกร้อน และ ประหยัดพลังงาน รถยนต์ทางเลือกของคนยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมต้อง รถยนต์ไฟฟ้าEV