น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไรมาดูกัน?

น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไรมาดูกัน?

08 ก.พ. 2565   ผู้เข้าชม 2,643

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องคือ หนึ่งในขั้นตอนการดูแลรักษาเครื่องยนต์ ที่ผู้ขับขี่ต้องทำกันอยู่เป็นประจำ โดยนำรถยนต์เข้าเช็กและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะที่กำหนด

น้ำมันเครื่อง

แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ในบางครั้งกลับรู้สึกว่า “ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเร็วกว่ากำหนด” หลายคนอาจไม่เคยรู้เลยว่า ความผิดปกติในการทำงานของเครื่องยนต์อย่าง เช่น เสียงเครื่องยนต์ดัง เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น รถกินน้ำมัน เป็นผลมาจาก น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพหรือน้ำมันเครื่องแห้งเร็ว นั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้ น้ำมันเครื่องรถยนต์ เสื่อมสภาพเร็ว

น้ำมันหล่อลื่น

โดยปัญหาหลัก ๆ ที่ส่งผลให้ น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพหรือแห้งเร็วผิดปกตินั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แม้ว่าคุณมั่นใจว่าได้เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดี ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดแล้วก็ตาม แต่อย่าลืมว่ายังคงมีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องด้วยเช่นกัน อาทิ ความชื้น การบรรทุกของหนัก สภาพพื้นที่ที่ขับขี่เป็นประจำ ฯลฯ

วันนี้ แพนด้า สตาร์ ออยล์ จะพาคุณไปเจาะลึกถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

 

1.น้ำ และ ความชื้น

น้ำมันเครื่องรถยนต์

ในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงเวลาที่เกิดน้ำท่วมสูงบ่อยครั้งในบางพื้นที่ หรือ มีน้ำท่วมขังตามท้องถนน ซึ่งการขับขี่บนถนนในช่วงฤดูนี้ อาจมีน้ำเข้าไปปนเปื้อนกับน้ำมันเครื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดลง อีกทั้งอาจก่อให้เกิดสนิม เกิดการกัดกร่อนของเครื่องยนต์ และยังเป็นตัวการทำลายสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องอีกด้วย

 

2.สารปนเปื้อน

น้ำมันเครื่องราคาส่ง

ในขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ ภาชนะที่นำมาใช้แบ่งหรือเป็นตัวกรอกน้ำมันเครื่อง อาจมีสารปนเปื้อนตกค้างอยู่ที่ภาชนะ ซึ่งสารเหล่านั้นอาจไปทำปฏิกิริยากับตัวน้ำมันเครื่อง หรือสารเพิ่มคุณภาพที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดน้อยลง ขณะเดียวกันการใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องร่วมกัน อาจเกิดการปนเปื้อนจากน้ำมันเครื่องที่ต่างชนิดกันก็เป็นได้ 

 

3.สารเพิ่มคุณภาพลดลงจนหมดไป

สารเพิ่มคุณภาพ

สารเพิ่มคุณภาพ เมื่อมีการถูกใช้งานแล้ว จะถูกแปรเปลี่ยนสภาพและหมดไปในที่สุด ซึ่งอัตราความรวดเร็วในการแปรสภาพนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคุณภาพที่เติมลงไป และขึ้นอยู่กับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ 

เมื่อสารเพิ่มคุณภาพหมดไป คุณสมบัติในการทำงานของน้ำมันจึงหมดลงเช่นกัน นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ว่า ทำไมถึงต้องมีการกำหนดระยะการใช้งานและการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์แต่ละประเภทเอาไว้ เนื่องจากน้ำมันเครื่องจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสารเพิ่มคุณภาพหล่อเลี้ยงอยู่นั่นเอง


4.เศษโลหะ ฝุ่น เขม่า

น้ำมันเครื่อง

สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อน้ำมันเครื่องโดยตรง ฝุ่นผง และเขม่า หากเข้าไปปนเปื้อนในน้ำมันเครื่องมากจนเกินไป มีผลทำให้ความหนืดของน้ำมันเครื่องสูงขึ้น ในส่วนของเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในน้ำมันเครื่องจำนวนมาก อาจแปรเปลี่ยนคุณสมบัติในการหล่อลื่นและเคลือบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เปรียบเสมือนตัวทำลายและสร้างรอยขีดข่วนให้กับชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ส่งผลให้เครื่องยนต์เกิดการสึกหรอเร็วยิ่งขึ้น


5.ความร้อน

น้ำมันหล่อลื่น

เมื่อเครื่องยนต์อยู่ในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำมันเครื่อง โดยเป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันเครื่องกับออกซิเจนในอากาศ ทำให้เกิดสารประเภทกรด และความหนืดของน้ำมันเครื่องจะสูงขึ้นตามไปด้วย ผลที่ตามมาคือ จะเกิดคราบยางเหนียวเกาะอยู่บริเวณร่องหรือรูที่เป็นทางผ่านของน้ำมันเครื่อง และอาจเกิดการกัดกร่อนเนื้อโลหะภายในเครื่องยนต์ในที่สุด


6.สภาพการใช้งาน

สารเพิ่มคุณภาพ

แน่นอนว่าลักษณะการใช้งานย่อมมีผลต่อระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่เร็วกว่าปกติ สำหรับรถประเภทที่ใช้งานหนัก อย่างเช่น รถบรรทุกหรือรถกระบะขนส่งที่บรรทุกของหนักอยู่เป็นประจำ รถสำหรับลากจูง ขึ้นเขา หรือทางชันบ่อย ๆ หรือรถประเภทออฟโรด ที่การใช้งานรถยนต์ต้องผ่านทางที่เป็นฝุ่นและทรายเป็นประจำ ส่งผลให้เกิดคราบสกปรกสะสมในเครื่องยนต์จำนวนมาก ส่งผลให้น้ำมันเครื่องที่ทำหน้าที่ในการชะล้างเกิดเสื่อมสภาพเร็วตามไปด้วย 

ขณะเดียวกันรถที่ใช้งานในสภาพการจราจรที่ติดขัดเป็นประจำ แม้จะเห็นว่าเลขไมล์ของรถยนต์จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่เครื่องยนต์ที่เดินเบาเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จนเกิดเขม่าขึ้นในเครื่องยนต์ด้วยเช่นกัน

 

แล้ว น้ำมันเครื่องยนต์แห้งเร็วผิดปกติ เกิดจากอะไร?

น้ำมันเครื่องราคาส่ง

นอกจากการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่อง ที่คุณสามารถสังเกตได้จาก การทำงานของเครื่องยนต์ที่ผิดปกติแล้วนั้น หากคุณเป็นคนนึง ที่ตรวจเช็กระดับน้ำมันเครื่องอยู่เป็นประจำแล้วละก็ เมื่อไหร่ที่น้ำมันเครื่องแห้งหรืออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดที่กำหนดเร็วกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้

 

1.การรั่วซึม

น้ำมันเครื่องราคาส่ง

การรั่วซึมของน้ำมันเครื่องมีสาเหตุมาจาก ซีลอ่างน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ ปะเก็นนอตถ่ายน้ำมันเครื่องแตก เสื่อมสภาพ ฉีกขาด หรือในขั้นตอนการเปลี่ยนไส้กรอกน้ำมันเครื่อง อาจใส่ไส้กรองไม่เข้าที่หรือตำแหน่งที่ถูกต้อง


2.การสึกหรอของเครื่องยนต์

น้ำมันเครื่องรถยนต์

เครื่องยนต์ที่ใช้งานติดต่อกันมาเป็นเวลานาน อาจเกิดปัญหาเครื่องยนต์ร้อนผิดปกติส่งผลทำให้  น้ำมันเครื่องแห้งเร็วขึ้น จากความร้อนภายในเครื่องยนต์


3.ลูกสูบ หรือ ร่องนำวาล์วชำรุด

น้ำมันเครื่องราคาส่ง

เมื่อร่องนำวาล์วหรือลูกสูบเกิดการชำรุดเสียหาย น้ำมันเครื่องที่ไหลผ่านร่องนำวาล์วจะถูก ส่งเข้าไปอยู่ในกระบอกลูกสูบสูงกว่าปกติ นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว ยังเป็นผลทำให้กระบอกสูบทำการเผาไหม้ได้ไม่เต็มที่อีกด้วย

 

เห็นรึยังว่า ปัญหาของน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว คงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่จะมองข้ามได้อีกต่อไป ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของรถยนต์อยู่เป็นประจำ หากพบรอยหยดหรือคราบของน้ำมันเครื่องบริเวณที่จอดรถ อาจมีสาเหตุมาจากการรั่วไหลของน้ำมันเครื่อง หรือหากเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติอาจเกิดจากน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยปละละเลยให้น้ำมันเครื่องแห้ง ส่งผลทำให้ไม่มีสารไปหล่อลื่นเครื่องยนต์จนพังมานักต่อนักแล้ว

ดังนั้น การเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดี มีคุณภาพสูง ถือเป็นสิ่งสำคัญ แพนด้า สตาร์ ออยล์ บริการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นคุณภาพสูงหลากหลายยี่ห้อ ทั้งน้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค และน้ำมันเครื่องราคาส่ง สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินทุกประเภท


เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

รวมแอพพลิเคชั่นน่าใช้ สำหรับคนมีรถยนต์ มีติดไว้ อุ่นใจและปลอดภัยทุกการเดินทาง
05 พ.ย. 2564

รวมแอพพลิเคชั่นน่าใช้ สำหรับคนมีรถยนต์ มีติดไว้ อุ่นใจและปลอดภัยทุกการเดินทาง

สาระน่ารู้
รู้ไว้! เติมน้ำมันรถยนต์เองไม่ยากอย่างที่คิด
01 ต.ค. 2564

รู้ไว้! เติมน้ำมันรถยนต์เองไม่ยากอย่างที่คิด

สาระน่ารู้
สายซิ่งห้ามพลาด! กฎหมายอัตราความเร็วรถปีล่าสุด ขับเร็วเท่าไรจึงไม่โดนใบสั่ง
28 ก.พ. 2565

สายซิ่งห้ามพลาด! กฎหมายอัตราความเร็วรถปีล่าสุด ขับเร็วเท่าไรจึงไม่โดนใบสั่ง

สาระน่ารู้